งานวิจัย ก่อนปี 2559
จะดึงดูดแพทย์จบใหม่ไปทำงานที่ชนบทได้อย่างไร: การใช้เครื่องมือทำลองการตัดสินใจเลือกงาน
งานวิจัยเพื่อค้นหามาตรการดึงดูดและธำรงรักษาแพทย์ในพื้นที่ชนบท เพื่อแก้ไขปัญหารกระจายตัวของแพทย์ที่ไม่เป็นธรรมระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท ใช้การศึกษาแบบภาพตัดขวาง โดยใช้วิธี Discrete Choice Experiment (DCEs) เพื่อประเมินการเลือกงานระหว่างงนในชนบทกับงานในเมือง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2551 แม้ผลการศึกษาจะพบว่าแพทย์ให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการเงินมากที่สุด แต่ปัจจัยสำคัญในการดึงดูดแพทย์ให้ปฏิบัติหน้าที่ในชนบทที่ไม่ใช่ตัวเงินก็ได้รับความสำคัญ เช่น การได้อยู่ใกล้ภูมิลำเนา โอกาสในการศึกษาต่อเฉพาะทาง โอกาสในการเลื่อนขั้น การมีแพทย์ที่ปรึกษา มีจำนวนเวรที่ไม่มากนัก
คำสำคัญ: Discrete Choice Experience (DCE), กำลังคนด้านสุขภาพ, แพทย์, การธำรงอยู่ในชนบท
การวางแผนความต้องการผู้ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยของสถานบริการภาครัฐในทศวรรษหน้า (ปีพ.ศ.2551-2560)
กระแสตื่นตัวเรื่องการแพทย์แผนไทยและสุขภาพทางเลือกทำให้ภาครัฐให้ความสนใจพัฒนาระบบการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาสุขภาพไทย กระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนผู้ให้บริการด้านแพทย์แผนไทยจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความสอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของระบบบริการสุขภาพทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ การศึกษาชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อวางแผนความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการของรัฐในช่วงเวลาสิบปี (พ.ศ.2551-1560) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านแพทย์แผนไทยต่อไป
คำสำคัญ: แพทย์แผนไทย, สุขภาพทางเลือก, กำลังคน, บริการสุขภาพ
วิกฤติความขาดแคลนแพทย์ในประเทศไทย: ทิศทางและแน้วโน้ม
บทความวิชาการที่นำเสนอภาพรวมของสถานการณ์แพทย์ของประเทศไทย ที่พบว่ายังมีทั้งปัญหาการขาดแคลน คือมีจำนวนแพทย์ในภาพรวมไม่เพียงพอกับความต้องการของระบบสุขภาพ แม้จะมีโครงการเพิ่มการผลิตแพทย์มาอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ได้ และปัญหาการกระจายตัวของแพทย์ที่ยังคงมีความแตกต่างเหลื่อมล้ำกันในทุกมิติ คือ การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจของพื้นที่ การกระจายตัวระหว่างสถานบริการภาครัฐกับเอกชน โดยสัดส่วนของแพทย์ในสถานบริการเอกชนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การกระจายตัวระหว่างแพทย์เฉพาะทางกับแพทย์ทั่วไป
นายแพทย์ฑิณกร โนร

วิกฤติความขาดแคลนแพทย์ในประเทศไทย: ทิศทางและแน้วโน้ม
1 file(s) 384 KB
วิกฤติความขาดแคลนแพทย์ในประเทศไทย: ทิศทางและแน้วโน้ม
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพ
การศึกษาปัจจัยต่างๆ ในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยที่ส่งผลต่อความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพในมิติต่างๆ โดยศึกษาปัจจัยที่สำคัญดังนี้ การปฏิรูประบบสุขภาพ, นโยบาย FTA และ Medical Hub of Asia , ความต้องการบริการสุขภพาที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุ โดยพบว่าปัจจัยทั้ง 3 ประการ ทำให้เกิดความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพมากขึ้นทั้งในเชิงจำนวนรายวิชาชีพ และคุณภาพของบุคลากรที่ต้องการบุคลากรด้านสุขภาพที่มีทักษะหลากหลายด้าน (skill mixed) มากขึ้น
นงลักษณ์ พะไกยะ
พิมพ์ สิริอยุ วัฒนกุล
พูนทรัพย์ โพนสิงห์
สุทิน ชนะบุญ
กรองทอง แก่นคํา

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพ
1 file(s) 567 KB
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพ
ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ
การศึกษาเพื่อคาดการณ์กำลังคนด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ จัดทำขึ้นในปี 2553 เพื่อศึกษาสถานการณ์กำลังคนด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยในขณะนั้น และคาดการณ์ความต้องการในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ผลการศึกษาพบว่าระบบบริการสุขภาพในขณะนั้นยังขาดระบบบริการเฉพาะทาง รวมถึงบริการการดูแลระยะยาวและเรื้อรังที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยเสนอว่าบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นการดูแลอย่างต่อเนื่องครบวงจร เริ่มจากการดูแลตนเอง การดูแลโดยครอบครัว การดูแลระดับชุมชน ไปจนถึงระดับสถานบริการ ซึ่งแต่ละระดับมีความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพแตกต่างกัน โดยกำลังคนด้านสุขภาพที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้สุงอายุจะต้องมี 2 กลุ่ม คือ ผุ้ดูแลที่ไม่เป็นทางการ หมายถึงผู้ดูแลภายใต้เครือข่ายครอบครัว และที่เป็นทางการ หมายถึงบุคลากรด้านสุขภาพที่ผ่านการอบรมและฝึกทักษะ
นงลักษณ์พะไกยะ
สัญญา ศรีรัตนะ