งานวิจัย ปี 2562 – ปัจจุบัน
โครงการการบริหารจัดการทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริการทันตกรรมในระดับเขตสุขภาพ
การศึกษาเพื่อทบทวนและประเมินผลนโยบายแผนพัฒนาระบบบริการด้านทันตกรรมของกระทรวงสาธารณสุข ที่ใช้การพัฒนาระบบทันตกรรมเฉพาะทางเป็นยุทธศาสตร์หลัก ทำให้เกิดการฝึกอบรมทันตแพทย์เฉพาะทางเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี 2559 ผลการศึกษาพบว่านโยบายดังกล่าวมีผลทำให้ทันตแพทย์เฉพาะเพิ่มจำนวนขึ้นในภาพรวมระดับประเทศ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาการกระจุกตัวของทันตแพทย์เฉพาะทางในเมืองใหญ่ได้ อีกทั้งยังพบว่าแม้จะมีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะทางแล้ว แต่ทันตแพทย์เฉพาะทางส่วนใหญ่ยังคงต้องให้บริการทันตกรรมพื้นฐาน และมีบางส่วนต้องทำงานเอกสารและงานบริหารอีกด้วย ทำให้ไม่สามารถให้บริการทันตกรรมเฉพาะทางที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญได้เต็มที่
คำสำคัญ: ตัวชี้วัดหลักกำลังคนด้านสุขภาพ, กระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล, ระบบฐานข้อมูลวิชาชีพ
อ่านบทความวิจัยฉบับเต็ม

โครงการการบริหารจัดการทันตแพทย์เฉพาะทาง
1 file(s) 783.51 KB
โครงการการบริหารจัดการทันตแพทย์เฉพาะทาง
โครงการพัฒนาตัวชี้วัดหลักกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทย
การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดหลักกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทยที่ครอบคลุมถึงการจัดทำมาตรฐานข้อมูลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละตัวชี้วัด และครอบคลุมทุกมิติการอ้างอิงตามกรอบ AAAQ ทั้งมิติด้านความพอเพียง ด้านการกระจาย คุณลักษณะและความสามารถในการให้การบริการ และมิติด้านคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีตัวชี้วัดที่เกี่ยวกำลังคนด้านสุขภาพถึง 17 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กระบวนการผลิตบุคลากร 6 ตัว การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการวิชาชีพ 1 ตัว การเข้าสู่ตลาดแรงงาน 9 ตัว และ ต้นทุนการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ แต่ในบรรดาตัวชี้วัดทั้งหมดที่มีกลับพบว่าข้อมูลกระจัดกระจาย มีตัวชี้วัดเพียง 5 ตัวที่มีข้อมูลพร้อมใช้งาน ส่วนใหญ่ยังขาดกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิชาชีพ การจัดทำระบบเชื่อมโยงข้อมูลหลักระหว่างหน่วยงาน และ การจัดทำการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ: ตัวชี้วัดหลักกำลังคนด้านสุขภาพ, กระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล, ระบบฐานข้อมูลวิชาชีพ

โครงการพัฒนาตัวชี้วัดกำลังคน
1 file(s) 2.24 MB
โครงการพัฒนาตัวชี้วัดกำลังคน
โครงการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
การศึกษาของสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นกำลังคนด้านสุขภาพผ่านทางคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ซึ่งเป็นกลไกที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอด้วยการบูรณาการเป้าหมาย ทิศทางและยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยใช้การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง (LTC) เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่าการขับเคลื่อนประเด็นกำลังคนด้านสุขภาพผ่านทาง พอช. จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความเข้มแข็งของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ซึ่ง มี สสอ. เป็นเลขานุการ พชอ. ทั้งนี้ พชอ. หลายแห่งยังมองว่างาน LTC เป็นประเด็นสุขภาพที่ควรบริหารจัดการโดยกระทรวงสาธารณสุข หาก สสอ. เข้มแข็งมีข้อมูลดี สามารถทำให้ พชอ. มองเห็นความสำคัญของงาน LTC และขับเคลื่อนให้เกิดบูรณาการได้ พชอ. จะเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนการทำงานของกำลังคนในระบบบริการ LTC ได้อย่างดี
คำสำคัญ: การดูแลระยะยาว, พชอ., ภาวะพึ่งพิง

กำลังคนด้านสุขภาพ พชอ
1 file(s) 7.74 MB
กำลังคนด้านสุขภาพ พชอ
การประเมินระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care)
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบให้บริการการดูแลระยะกลาง ภายใต้โครงการทบทวนสถานการณ์ความต้องการระบบและเครื่องมือที่จะตอบสนองปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทย และการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง โดยงานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลพื้นที่ต้นแบบที่มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง โดยใช้วิธีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ต้นแบบที่มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในโครงการ จัดทำโดย นพ. ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย และคณะ ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่ต้นแบบมีปัญหาด้านการเชื่อมต่อระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะเฉียบพลันและระยะกลาง ส่งผลให้ผู้รับบริการจำนวนหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงบริการการดูแลระยะกลาง ในส่วนของรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยนั้นพบว่าผู้ป่วยแต่ละรายควรได้รับบริการกายภาพบำบัดไม่น้อยกว่า 10-15 ชั่วโมง และควรใช้แบบประเมิน Barthel index ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในการให้บริการ คณะผู้วิจัยเสนอว่ารัฐควรเร่งสนับสนุนให้เกิดระบบบริการผู้ป่วยระยะกลางโดยเร็ว โดยต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดอีกครั้ง
คำสำคัญ: การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง, กายภาพบำบัด, ฟื้นฟูสมรรถภาพ

รายงานการประเมินระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง
1 file(s) 15.1 MB
รายงานการประเมินระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง
งานศึกษารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมและป้องกัน (Prevention and Promotion) ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เป็นการศึกษารูปแบบบริการแบบใหม่ในงานบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลในประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันในประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของรูปแบบทางธุรกิจสำหรับกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยศึกษาในหน่วยงานที่มีบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลอยู่แล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โรงพยาบาลบางเลน จังหวัดนครปฐม และโรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะมีให้บริการเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 6 เดือน ในแต่ละครั้งจะได้รับกระบวนการบริการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ กระบวนการประเมิน เป็นการตรวจวัดทางกายภาพ ประเมินปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ และประวัติทางการแพทยื กระบวนการเสริมพลัง และกระบวนการ coaching หรือระบบพี่เลี้ยง ส่วนรูปแบบทางธุรกิจสำหรับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคล ในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพบว่ามี 2 รูปแบบ คือ กิจกรรมออกกำลังกายที่บ้านหรือในสถานที่อื่นๆ ที่ผู้รับบริการสะดวก (Hone exercise) โดยมีอุปกรณ์ติดตามการออกกำลังกายให้ยืม และกิจกรรมออกกำลังกายที่สถานที่ออกกำลังกาย (Fitness center) ทั้ง 2 รูปแบบ สามารถทำกำไรในเชิงธุรกิจได้
ผู้วิจัย นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย และคณะ
คำสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ออกกำลังกาย

งานศึกษารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมและป้องกัน
1 file(s) 2.63 MB
งานศึกษารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมและป้องกัน
งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพระยะยาวสำหรับการดูแลระยะยาว
ระยะเวลาดำเนินการ:
สถานะ: กำลังดำเนินการ ความคืบหน้า 50%
ผู้รับผิดชอบ: สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.)
เพื่อสร้างนโยบายส่งเสริม การดูแลระยะยาวและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ที่ต้องการการดูแลระยะยาว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของสังคมไทยที่กำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ และตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพของคนไทยที่ต้องการบริการดูแลสุขภาพที่มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
การศึกษานี้ที่ศึกษาองค์ประกอบต่างๆของความสำเร็จในการดำเนินรูปแบบให้บริการระยะยาว (Long term Care) ภายใต้การบริหารจัดการกำลังคนในรูปแบบต่างๆที่หลากหลายตามบริบทพื้นที่ โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ต่างๆ เพื่อที่จะหาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินการ นอกจากนี้มุ่งที่จะให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง และเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอในการจัดบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพแก่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย
การศึกษานี้แบ่งเป็น 2 เฟส เฟสละ 1 ปี เฟสแรกอยู่ระหว่างการดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2562 มีพื้นที่การศึกษาเฟสละ 12 แห่ง ทั่วประเทศ การศึกษาใช้กระบวนการถอดบทเรียน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ และการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกำลังคน ก่อนจะนำเสนอผลการวิจัยเพื่อขยายผลต่อไป
วัตถุประสงค์
– เพื่อสังเคราะห์ทางเลือก “รูปแบบ” การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพในในการดูแลระยะยาว รวมทั้งปัจจัยในความสำเร็จ (Key success factor) และ ความท้าทาย (Challenge) ของการดำเนินการดังกล่าว
– พัฒนา “แนวทาง” การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพการดูแลระยะยาวในระดับพื้นที่ ในการจัดบริการสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
– สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ในด้านการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อหนุนเสริมความเข้มแข็งของพื้นที่ในการจัดรูปแบบบริการระยะยาว
– พัฒนาความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเพื่อสนับสนุนการดูแลระยะยาว