โควิด-19 อยู่ๆ ก็มาไม่ทันให้ตั้งตัว แล้วก็อยู่นานจนคล้ายกับจะไม่ยอมไปไหน สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับระบบสุขภาพทั่วโลก จนหลายประเทศพังยับเยินเมื่อผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาทางการแพทย์มีมากเกินทรัพยากรสุขภาพที่มี ประเทศไทยในวันนี้ยังเดินทางไปไม่ถึงจุดนั้น คงไม่ผิดหากจะบอกว่าเป็นผลจากการที่สังคมไทยตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตในวิถีใหม่ที่นาทีนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ป้องกันการแพร่ระบาดได้ดีที่สุด แล้วระบบสุขภาพของประเทศในภาพใหญ่มีบทบาทอย่างไรในการควบคุมการระบาดหรือการเตรียมรับภัยทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้นหากกระบวนการควบคุมโรคเอาไม่อยู่ ไปหาคำตอบพร้อมกันกับ นพ. เฉวตรสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค
ภาระกิจของกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน
กองนี้ตั้งใหม่ ภารกิจสำคัญคือการเตรียมความพร้อมรับมือโรคในภาวะฉุกเฉินที่เรียกว่า public health emergency มีหลักๆ ที่เคยถูกพูดในระดับโลก กรณีถ้าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีความรุนแรง หรือมีไข้หวัดที่ก่อโรคมาจากในสัตว์ เช่นไข้หวัดนกเกิดแพร่มาในคน เมื่อคนสู่คนจะวงกว้างมาก แล้วก็จะเหมือนโควิดเชื้อกลุ่มโคโรน่าไวรัส ที่อาจจะเกิดคนล้นโรงพยาบาลคนเสียชีวิตมากมาย นี่คือสิ่งที่เรียกว่าโรคในภาวะฉุกเฉิน แต่ในความจริงมันมีเหตุฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่เป็นภัยอื่นๆ ด้วย ชื่อกองเลยยาวๆ หน่อย
เปรียบเทียบกับ “ฉุกเฉิน” ของ EMS
ภาพใหญ่ต่างกัน แต่มีส่วนทับซ้อนกัน เช่น ด้านการแพทย์ การมีอุบัติเหตุหมู่ขึ้นมาใหญ่ๆ ระบบฉุกเฉินต้องทำงาน แต่ถ้าเป็นสเกลใหญ่ น้ำท่วมใหญ่ อุบัติเหตุหมู่ หรือต่างประเทศอาจมี ภูเขาไฟระเบิด landslide ก็จะคล้าย public health emergency ที่นี้ในภาวะฉุกเฉินที่เป็นโรคที่ทำให้คนเจ็บป่วย เข้าสู่ระบบริการมาจนรับมือไม่ไหว ในความเป็นจริงใช้ตามนิยาม ไม่มีตัวเลขจะมาบอกว่าป่วยเท่าไร ตายเท่าไรจึงจะเรียกว่าฉุกเฉิน แต่ดูว่ามันทำให้ระบบปกติมันรับมือไม่ไหว หากไม่มีการเตรียมการก็จะรอจนกระทั่งไม่มีการเตียงรับคนไข้ แบบนั้นจะเรียกว่าไม่พร้อม แต่หากเราเตรียมตัวล่วงหน้ามันเริ่ม จะมีปัญหาเห็นล่วงหน้า ต้องเตรียมกำลังคนรอ วางแผนไม่ให้ไปถึงจุดนั้น มันมีบางสวนเหมือน ems แต่มันจะไม่ได้มีรถฉุกเฉินวิ่งรับส่ง เหมือนโควิดไม่ได้ต้องมีรถ ฉุกเฉินวิ่งรับส่ง ในชุมชน แต่ในช่วงแรกๆ ต้องมีรถพยายาลวิ่งรับส่งคนไข้ เพื่อลดการติดเชื้อ
ประเด็นสำคัญคือกำลังคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาวะฉุกเฉิน คือทำให้ในภาวะปกติคนเห็นความสำคัญ ให้บุคลากรในกรมควบคุมโรคเห็นความสำคัญ เรียนรู้ไว้ล่วงหน้าว่าถ้าเกิดฉุกเฉิน ระดับ 1 2 3 มันจะมีระดับความรุนแรง ควรจะต้องปฏิบัติอย่างไร เพราะในภาวะปกติทุกคนจะมีงานในความรับผิดชอบที่ต้องดูแลอยู่ เหมือนในโรงพยาบาลภาวะปกติ แต่ละคนแต่ละตึกจะมีภาระหน้าที่หลักของตนเองอยู่เช่น แผนกเด็ก แผนกศัลยกรรม แต่พอมีอุบัติหตุฉุกเฉิน ที่แผนกฉุกเฉิน ต้องระดมกำลังคนยังไง แต่ละหน่วยต้องส่งกำลังคนไปยังไง มันต้องถูกเทรนล่วงหน้า ในส่วนของกรมควบคุมโรคก็จะมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่อง 100% ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรสายวิชาการ หรือสายสนับสนุน ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกเวลาเกิดความฉุกเฉิน ขึ้นมา เพราะเวลาฉุกเฉิน ตามหลักต้องสอบสวนโรค ท่านจะเป็นนักวิชาการสาธารณสุข แพทย์ระบาด หรือสายวิชาการ เรื่องการจัดการการเงิน การจัดการบริหาร การปรับงบประมาณ ต้องลดอุปสรรคขั้นตอน
ตอนโควิดรอบแรกถือว่าฉุกเฉินหรือไม่
เหมือนที่บอกเรื่องการนิยามว่ามันจะฉุกเฉินเมื่อระบบปกติล้นจนรับมือไม่ไหว ถ้าเราระวังตัวก่อน เราประกาศการตั้งรับตามแนวทางทางของเหตุฉุกเฉินก่อน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมันเลยมาไม่ถึงนิยามของคำว่าเหตุฉุกเฉิน มันยังไม่ถึงขั้นล้น แต่ท่าไม่ดี พอเราป้องกัน มันก็มาไม่ถึงนิยามของคำว่าฉุกเฉิน มันก็เลยกลายเป็นว่าเอ๊ะ มันจะฉุกเฉินหรือไม่ฉุกเฉิน เพราะฉะนั้น บางทีนิยาม มันเป็นเหมือนการเตือนว่าเราต้องป้องกันไม่ให้ไปถึงจุดนั้น ทีนี้พอมันมาเราเห็นแล้วว่ามันเป็นโรคที่เกิดใหม่ พอเป็นโรคเกิดใหม่ภูมิคุ้มกันเก่าไม่มี กระจายถึงใครก็เป็นง่าย ไข้หวัดเก่าเปลี่ยนพันธุ์นิดหน่อย ภูมิคุ้มกันที่ปีที่แล้วอาจจะป้องกันได้อยู่บ้างที่อาการไม่แรง แพร่ไม่เยอะ แต่พอมันมาใหม่เลย มันกระโดดถึงใครก็ป่วย มันก็เลยกลายเป็นข้อกังวลว่าหากมาแล้วไม่รู้ว่าการตายจะเยอะขนาดไหนก็ต้องป้องกันเต็มที่ จนกว่าจะรู้อาการของโรค จังหวะแรกๆ ที่เราเห็นอัตราการตายในต่างประเทศก็สูงเกิน 5% มี 6-8% ในบางกลุ่มอายุ ถ้าแบ่งกลุ่มสูงอายุ บางทีเสียชีวิต 25% ด้วยซ้ำไป อันนี้เป็นตัวเลขของจีนกับอิตาลี
ที่เมืองไทย รอบแรกตายเยอะ รอบสองติดเยอะแต่ตายน้อย ความท้าทายต่างกันอย่างไร
ส่วนหนึ่งในทางระบาดวิทยาเรามองอยู่ว่าหากการตรวจมันกว้างขี้น คือต้องยอมรับว่าช่วงแรกเทคโนโลยีการตรวจใหม่ ราคาสูง การจะไปตรวจแบบไม่ต้องมีอาการก็ตรวจได้ จะทำให้เสียทรัพยากรไปโดยที่ไม่ต้องควบคุม มันก็เหมือนกับพอเวลาต้องใช้ ควบคุมจริง ก็เหมือนกระสุนหมด พอตอนหลังมีคนที่ป่วย มีอาการมาอ้าว ก็เครื่องไม้เครื่องมือไม่พอ ขาดแคลน ช่วงแรก อาการ ความเสี่ยงก็ค่อนข้างจะข้น บางคนมาแล้วไม่ได้ตรวจก็จะกังวลใจว่าเข้าไม่ถึงบริการก็มี แต่ก็ต้องเข้าใจว่า ในการดูแลระบบมันต้องรักษา balance ด้วยเหมือนกัน ถ้าหากว่าทุ่มตรวจไปเรื่อย มันก็แค่รู้ว่าตอนนั้นคนนั้นไม่ติดเชื้อ แต่พอถึงเวลาเกิดมีอาการขึ้นมา อ้าวทรัพยากรไม่พอแล้ว มันตรวจทุกคนไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นการดูเรื่องเงื่อนไข อาการความเสี่ยง มันเป็นการบริหารทรัพยากรที่มีจำกัดให้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า แต่พอระยะเวลาต่อมา การตรวจกว้างขวางมากขึ้น supply ผู้ผลิต น้ำยาตรวจ ก็จะมีได้มากขึ้น ความจำกัดข้อนี้ก็ลดน้อยลง นิยามก็มีการปรับให้ไม่เข้มเกินไป ไม่จำเป็นต้องดูประวัติเดินทางจากต่างประเทศ และธรรมชาติของการติดเชื้อ ก็เริ่มเห็นการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนภายในประเทศ ในตลาดที่มีผู้ป่วยยืนยันกลายมาเป็นความเสี่ยงได้ ตรงนี้ทำให้เข้าถึงการตรวจมากขึ้น โอกาสที่ทำให้คนป่วยชัดๆ มันก็น้อยลง ช่วงแรกๆ ที่เราดูจะเข้มก็จะได้คนที่อาการชัดหน่อย เลยเห็นเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตสูงกว่า แต่พอตอนหลัง พอเจอผู้ป่วยคนที่เป็นเจ้าของกิจการภายในตลาดแพกุ้งก็เจอคนงาน ก็เลยเปลี่ยนมาตรวจทั้งตลาด โดยที่ไม่ได้มีการถามอาการอะไร แต่ด้วยความที่มี ความพร้อมของระบบ และมองแล้วว่ากลุ่มนี้มีที่มา คือเป็นแรงงานที่ข้ามพื้นที่เข้ามา พอตรวจก็เจอแจ็คพ็อตเลย อันนี้เป็นเรื่องของความพยายามบอกว่าพอมีการติดเชื้อ ปริมาณเยอะๆ การหา timeline ก็จำกัดนะ เดิม ต้องมานั่งหาชัดๆ มีใครเกี่ยวข้องบ้าง แต่อันนี้มันเหมือนแต่ละคนมี timeline เยอะแยะหยุมหยิมไปหมด การหาก็ไม่มีประโยชน์ สู้การล็อคเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เขาลดการสัมผัสและเฝ้าระวัง ดูว่าเขามีอาการป่วยหรือเปล่า ดูแลให้เต็มที่ เพราะฉะนั้นน้ำหนักการทำงานจึงต่างไป จากเดิมที่เวลาเจอเคสแรกอันนี้ต้องไล่ละเอียด อันนี้เจอเป็นก้อนๆ ปริมาณเยอะ การควบคุมก็เป็นขอบเขตกว้างขึ้น มาก็ได้ผลดีกว่า
การควบคุมโควิดปรับตามบริบท ไม่สามารถเอาที่หนึ่งไปใช้อีกที่หนึ่งได้เป็นสูตรสำเร็จ
ใช่ ถ้าระยะแรกจากเคสน้อยๆ คือการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ ยังไม่มีเคสจากอู่ฮั่นสักเคส มาที่เรา เรากรองเข้มเลย ใครมาต้องคัดกรอง ล็อก ป้องกันเต็มที่ เขาตั้งใจจะมาเที่ยวยังห้ามไม่ให้เที่ยวแต่พอมีจำนวนเยอะๆ การป้องกันการติดเชื้ออาจจะมีน้ำหนักลดลง ไปอยู่ที่การป้องกันการเสียชีวิตจะดีกว่า ทำยังไงที่จะให้ระบบบริการรักษาที่เพียงพอ รวดเร็ว แต่สิ่งที่ปรากฏไม่ได้เหมือนกันทุกพื้นที่ กรุงเทพ สมุทรสาคร โซนนี้คนเยอะก็ต้องพยายามดูแลป้องกันการเสียชีวิต แต่การป้องกันการติดเชื้อก็ยังพยายามอยู่ อย่างจังหวัดไกลๆ นครพนม หรืออะไรที่มีรายงาน 1-2 ราย อันนี้ยังต้องเน้นการป้องกันการติดเชื้ออันนี้ timeline ก็จะสำคัญ
สมุทรสาคร-แม่สอด ความต่างบนความเหมือน
เหมือนกันคือแรงงานข้ามชาติ แต่แม่สอด มีรายงานข้ามไปข้ามมารายวัน เห็นการเคลื่อนไหวค่อนข้างชัด ขณะเดียวกันก็มีส่วนที่เข้ามาแล้วอยู่นานๆ เหมือนสมุทรสาครด้วย ที่สมุทรสาครจะเป็นลักษณะที่พอเข้ามาอยู่แล้ว มันก็จะไม่เห็นชัดเจน การเคลื่อนเข้าเคลื่อนออก แต่ความจริงมันมีคนที่ชี้ให้เห็นวิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติ ที่วันทำงานเขาจะอยู่ในที่ทำงาน แต่พอเสาร์อาทิตย์เขาก็จะมีกลุ่มของเขา ที่มีการเดินทาง อาจจะข้ามจังหวัด ข้ามเขต ข้ามไปอำเภอใกล้ๆ เป็นธรรมชาติของเขา แต่ก็มีนักวิชาการในมหาวิทยาลัยพูดอยู่ว่า การให้เข้ามาแล้วกักตัวมันเป็นการเพิ่มต้นทุนของเจ้าของกิจการ หรือของเจ้าตัวที่เดินทางเข้ามา หากถูกกักตัวก็ต้องลุกขึ้นมาใช่ไหม กลายเป็นปัจจัยที่ด้านหนึ่งทำให้มีการลักลอบ แรงงานเถื่อนก็อาจจะเข้ามา ก็เป็นประเด็นที่น่าคิดว่าเรื่องแบบนี้มันมีทั้งสองด้าน หากเห็นว่าตอนที่เรามีการล็อกดาวน์ชัดๆ จะเห็นว่าบางกิจการที่ใช้แรงงานต่างด้าว มันก็ขาดแคลนเพราะคนไทยไม่ได้คิดจะไปทำ เช่น คนเก็บลำใย หรืออาชีพที่ต่อเนื่องจากการประมงเราก็ดูอยู่ตลอด ถ้ากลุ่มนี้เข้ามามันก็เป็นความเสี่ยง เราก็ดูพอเจอเจ้าของกิจการที่ป่วย เราก็ค่อยๆ สืบสาวไป
กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน มีบทบาทในการรับมือโควิดอย่างไร
มี 2 ส่วน กรมกรมควบคุมโรคทำหน้าที่ของเสนาธิการ อำนาจการตัดสินใจอยู่กับคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด เรากระจายอำนาจการตัดสินใจลงไป เพราะในพื้นที่เขาจะเห็นข้อมูลเยอะกว่า แต่คราวนี้การอยู่ส่วนกลาง มีข้อได้เปรียบคือ การเห็นสถานการณ์ของพื้นที่หนึ่งมันเป็นประสบการณ์ไปป้องกันในอีกพื้นที่หนึ่ง เพราะว่าเรามีทรัพยากร เรามีผู้เชี่ยวชาญอยู่ มีผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้บริหารที่เห็นระบบภาพใหญ่ ถามว่าเราต้องลงมือในทุกพื้นที่หรือเปล่า ต้องบอกว่าเราให้ความสำคัญกับพื้นที่ในการจัดการตัวเอง แต่เราพร้อมเป็นคนสนับสนุนหากมีการขออะไรเพิ่มเติม ทรัพยากร คน อะไรแบบนี้ แต่ต้องบอกว่าในเรื่องความเชี่ยวชาญ เป็นของที่ต้องเรียนรู้ในสถานการณ์จริง หลายเรื่องเป็นเรื่องใหม่ สมัยก่อนพอนึกภาพกักกัน เราจะนึกภาพไม่ออกหรอกว่าเราต้องการนำโรงแรมมากักกัน มันอยู่แต่ในตำรา มันไม่เคยมีครั้งไหนใหญ่เท่านี้ ตอนไข้หวัดนกก็ใหญ่ไม่เท่านี้ โรคเมอรส์ก็ไม่ใช่อย่างนี้ เราเคยเอาคนที่มาจากตะวันออกกลาง คนตะวันออกกลางเขาสนใจจะรักษาที่ รพ. เอกชนของไทย แล้วพอมาเขาก็มีโรงแรมที่พักประจำ เราก็เคยไปขอโรงแรมว่าทั้งชั้นขอให้เป็นที่พักของกลุ่มที่มาจากประเทศนี้เลย และถ้าหากมีไข้ มีอะไรก็ขอให้แบ่งโซนให้ทางนี้เป็นที่ดูแลคนไข้ มันคล้ายๆ การกักกันกลายๆ แต่พอเป็นโควิด รัฐบาลเข้ามา ทำระบบ คนไทยเดินทางกลับมาขึ้นทะเบียน มาดู 14 วัน จากที่พูดกันในตำรา มันกลายมาเป็นภาคปฏิบัติที่ชัดเจนมาก
ความท้าทายใหญ่ของระบาดวิทยาเนื่องจากโควิด
จะว่าไปมันก็ไม่เชิงใหม่ คือตอนที่เราพูดถึงโรคอุบัติใหม่ มันมาตั้งแต่ปี 2000 แล้วพอปี 2005 WHO พูดถึง international health regulation กฎอนามัยระหว่างประเทศ พูดถึงว่าการระบาดอยู่ที่ไหนแม้แต่ที่เดียวในโลกก็อาจเสี่ยงต่อทั้งโลกได้ โดยเฉพาะมันอาจจะแพร่ได้เร็วมาก การเดินทางมันข้ามภูมิภาค ข้ามซีกโลกได้เร็วมาก เขาออกกฎมาปี 2005 ไทยก็พยายามทำกฎหมายโรคติดต่อให้สอดรับกัน การควบคุมที่ด่านของสนามบิน ด่านบก ด่านน้ำ ด่านทุกประเภท มีการระบุให้เห็น มีการแยกการ การกักกัน การคุมไว้สังเกต ถูกเขียนขึ้นมาให้สอดรับกัน เพราะกฎอนามัยระหว่างประเทศเขาพยายามหลบเลี่ยงการจำกัดการเดินทางและจำกัดการค้า ในอีดตถ้าประเทศไหนมีอหิวาต์ อย่างเช่นไทย สมมติมีรายงานว่าไทยมีอหิวาต์ เขาก็จะ โอ้! ไม่ซื้อกุ้งไทยนะ เพราะไทยมีรายงานอหิวาต์ ไม่รับซื้อกุ้งเวียดนามนะเพราะมีรายงานอหิวาต์ หลายประเทศเลยเลี่ยงเป็นใช้คำว่าอุจาระร่วงอย่างแรง คนก็ซื้อ ไม่ตำหนิอะไร มันกลายเป็นการเอามาใช้กีดกัน และพอเอามาใช้กีดกัน มันก็ไม่ได้ผลจริง มันไม่ได้ลดความเสี่ยง ไม่ได้รับความร่วมมือ เขาก็เลยพยายามไม่จำกัด ลองดูตอนแรกที่โควิดมา จุดแรกไม่ได้ห้ามประเทศอื่นไม่ให้เข้านะ แต่เข้าห้ามประเทศตัวเองไม่ให้ออก เพราะพยายามไม่ให้กระทบประเทศอื่น แต่พอนานเข้า เห็นในข่าว อย่างอู่ฮั่น คนก็ไม่ไปเอง หรือถ้าให้มีประสิทธิภาพที่สุด ก็ total lockdown ห้ามเข้าห้ามออก พอหลังจากที่ห้ามตัวเองสักพัก ก็เริ่มเห็นว่าพอหยุดการเคลื่อนไหวของคน มันลดการสัมผัส ลดการแพร่กระจาย แล้วก็ดูมีประสิทธิภาพ จะเห็นว่าประเทศไหนที่ค่อนข้างเด็ดขาด อย่างจีน และเห็นว่าหากทุกพื้นที่ทำเหมือนกัน มันจะหยุดโรคได้ไว แต่หากเป็นประเทศที่ฉันมีสิทธิเสรีภาพมากแล้วตำบลหนึ่ง บอกว่าเข้ม แต่ข้างๆ กันบอกว่าไม่ต้องเข้ม มันไม่ช่วย พอความเข้มมันต่างกันคนก็หนีไปพักที่อื่นก่อน ที่มันไม่เข้ม ก็เป็นมุมที่เราเห็น นอกจากตัวกฎหมายใหม่ มาตรการเชิงทฤษฎีเอามาใช้เป็นรูปธรรม แล้วก็เรื่องของกฎอนามัยระหว่างประเทศ ที่ไม่ให้กระทบการเดินทางระหว่างประเทศมันก็ไม่เป็นจริงทั้งหมด แต่มันก็มีความพยายามแล้ว และทุกประเทศก็รู้สึกว่า อย่างอู่ฮั่นเขาห้ามคนเขาเดินทาง เราจะยังอยากไปเที่ยวอีกหรอ ดีแล้วที่คนไม่ไป ดีแล้วที่เขาขอความร่วมมือ ไม่ให้ไปชั่วคราว คนก็ยอมรับกันได้ ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำไมคุณจำกัดการค้า จำกัดการเดินทาง ไม่สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ มันก็ไม่มีเสียงบ่นแบบนั้น
เมื่อ new normal ไม่ fit in โครงสร้างสังคมเดิม
ธรรมชาติของโรคกับธรรมชาติของมนุษย์เป็นตัวแปรที่แล้วแต่เราจะให้น้ำหนักอะไรแค่ไหน ถ้าเราให้น้ำหนักเรื่องโรคว่าเขาเป็นโรคอันตราย จริงๆ คำว่าตัวกฎหมาย ทุกอย่างมันคือการรอนสิทธิ หมายความว่าแทนที่เราจะทำอะไรโดยอิสรเสรี เพื่อไม่ให้กระทบกับคนอื่น ก็มาลดสิทธิเรา เพื่อไม่ให้กระทบกับภาพรวม สั่งให้หยุดก็ต้องหยุด สั่งให้รักษาก็ต้องรักษา เพราะไม่อย่างนั้นมันจะส่งผลต่อความเจ็บป่วยเสียชีวิตของคนอื่น
คราวนี้โดยธรรมชาติของคน มันต้องมีการเดินทาง พบ ปะ กัน หากไม่ใช่โรคอันตราย การเคารพสิทธิที่ต้องไม่เปิดเผยฐานะของคนป่วย ในสังคมเราไม่ต้องรู้ว่าคนนี้ติด HIV แต่เราใช้ชีวิตร่วมกันได้ เพราะวิธีการติดต่อมันไม่ใช่แค่การไปเจอแล้วติด แค่โควิดมาทางอากาศ มาทางไอ จาม ละออง อะไรแบบนี้ ก็เลยเป็นประเด็นว่า จริงๆ หากบอกว่าเราจะทำคล้าย HIV ไม่ต้องรู้ก็ได้ เพราะการรู้บางทีมันก็ไม่ได้ช่วยทั้งหมด เพราะหากเขาไม่มีตรวจเราก็ไม่สามารถรู้อยู่ดีว่าเขาแพร่เชื้อได้ เขาเพิ่งเริ่มมีอาการเช้านี้ แต่จริงเขาอาจจะรับเชื้อมาก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ต้องดูแลตัวเอง ต้องป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด เชื่อมั่นในเรื่องมาตรการที่ทำกับตัวเอง ใส่หน้ากาก รักษาระยะห่าง ล่างมือบ่อยๆ แบบนี้ก็ไม่ต้องไปบังคับใครให้เปิดเผยสถานะมากนัก เพราะฉะนั้นคำถามที่บอกว่าคน respect กฎหรือเปล่า ก็จะถูกมองว่าคำว่าความเข้มข้นของกฎที่เหมาะสมมันประมาณไหน ตอนที่เรากังวลเรื่องนี้มาก พอบอกว่าโรคติดต่ออันตราย แม้สงสัยคนก็ต้องถูกกักอยู่กับที่ แม้ตรวจไม่เจอ 14 วันก็ต้องกักบริเวณ พอบอกให้หยุดบางกิจการ คุณก็ต้องเชื่อฟัง มันเป็นการฝืนธรรมชาติมนุษย์อยู่ เพราะเราเชื่อว่าธรรมชาติของโรคหรือธรรมชาติปกติของมนุษย์มันทำให้เกิดโรคมากๆ ถ้าจะพูดไปไอเดียแรกๆ พอคนรู้สึกกังวล พยายามจะมีแอพ เช่นชั้นอยากจะเข้าห้างนั้นห้างนี้ มันคนมีที่มีสีแดงอยู่ข้างในไหม เหมือนกับหากใครมีแอพแล้วชั้นจะมีสัญญาณสีแดงปรากฏอยู่ ชั้นจะได้ไม่เข้า ตรงนั้นข้อเสียคือมันจะมีการตีตรา กระทบผู้อื่น และที่สำคัญ มันไม่มีแอพหรือวิธีไหน ที่จะแสดงได้ตลอดเวลาชั้นเริ่มป่วยแล้วนะ แล้วมันจะขึ้นสีแดงทันที มันต้องไปตรวจ ไปมีหลักฐานยืนยัน จริงๆ แล้วไอเดียเรื่องแอพหมอชนะ หากไม่พูดถึงการเปลี่ยนสี แล้วใช้หลักการการพยายามป้องกันให้เต็มที่ ถือว่าคนใกล้ตัวจะเริ่มป่วยเมื่อไรก็ได้ เขาไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นพิษเป็นภัยต่อคนอื่น ก็จะไม่เป็นไร มันอาจจะไม่ช่วย เรื่องโค้ดสี มันจะมาช่วยว่าหากคุณจำเป็นต้องกักตัว เอาโค้ดสีนี่ไปแจ้งหัวหน้างานได้ ผมจำเป็นต้องกักตัวนะ ไม่ได้มั่วอะไร มันก็เป็นประโยชน์แก่ตัวผู้สัมผัส และโค้ดสีหากเป็นโคดสีแดง หากสัก 30 วันรักษาจนหาย มันก็จะเปลี่ยนสีแล้ว การจัดการมันไม่ง่าย เรื่องโค้ดสี พอวินิจฉัยแล้วหมอทุกจุดต้องรู้ว่า ยังไม่ได้ลงแอพ ต้องลงแอพ ต้องแจ้ง มันไม่ได้เปลี่ยนสีอัตโนมัติ หากเกิดมีใครแกล้ง หรือข้อมูลผิดพลาดเปลี่ยนอัตโนมัติ ก็จะเกิดปรากฏการณ์ เฮ้ย! ชั้นไม่ได้ป่วย มันแดงขึ้นมาได้ยังไง มันมีสองด้าน ทุกอย่างมันเป็นกฏ คนต้องไม่แออัด เห็นแบบในลิฟท์ เอ้าก็เขาให้ยืน 6 คน มีรอยเท้าอยู่ ทำไมเรายืนกันมากกว่านั้นล่ะ คนรีบก็บอกว่าเดี๋ยวชั้นไม่ทันสแกนมือ มันมีการลดหย่อน การไปไม่สุดของมาตรการมันมีอยู่ มันมีบางเรื่องทีถ้าทำไม่ได้ร้อย แปดสิบ เก้าสิบก็ยังดี มาผสมกับอันอื่น
ตรวจเยอะ VS ตรวจน้อย
อันนี้เป็นเรื่องที่ ยังไงก็ controversy การตรวจมีข้อดีในแง่ที่ทำให้เห็นสถานการณ์ที่เป็นจริง หากใครต้องปฏิบัตตัวหรือดำเนินการอะไรก็จะทำได้เหมาะสม แต่ของพวกนี้มันไม่ใช่ขาวแล้วขาวเลย 365 วัน ดำแล้วดำเลย 365 วัน มันเปลี่ยนวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้ การตรวจวันนี้อีกสามวันขึ้นมา มีอาการแล้ว คราวนี้สงสัย แต่ทรัพยากรเราไม่ได้มีให้คนตรวจได้ไม่รู้จบ ก็หลักๆ หลายๆ ที่ทำแนวเดียวกัน ในแง่ที่หากมีอาการเขาเกณฑ์ก็ได้ตรวจ หรือมีความเสี่ยงบวกเข้ามาหน่อย เพราะอาการมันเหมือนไข้หวัดธรรมดาได้ด้วย แต่หากเป็นช่วงที่มีการระบาดค่อนข้างเยอะเราก็ไม่รอด เราก็ขีดวง เช่นกลุ่มโรงงาน ตลาดแพกุ้ง ควรได้รับการตรวจ หรือไปสุ่มตรวจในโรงงาน ที่มีกลุ่มเสี่ยงเข้ามา สองด้านนี้เราต้องรักษาสมดุลให้เหมาะ ไม่อย่างนั้นเราจะทุ่มกำลังผิดจังหวะ เราจะเหนื่อยผิดจังหวะ ตรวจปรู๊ด ปรู๊ด ปรู๊ด ไป สบายใจแล้ว เจอแค่ 5% ที่ป่วยเราก็ดูแลรักษา แล้วพรุ่งนี้เป็นไง เราสุ่มตรวจได้อีกไหม มันไม่ได้
ต่างประเทศเขายืนยันแข็งเลยว่าหากคุณอาการน้อยๆ ให้รออยู่บ้าน รอให้มันหายเถอะ ของเราเอาทุกรายที่ตรวจเจอเข้าโรงพยาบาลเลย แต่ตอนนั้นเคสมันอาจจะไม่เยอะ แต่ข้อดีของคนฝั่งเอเชียคือ พอมีเรื่องขึ้นมาสังคมคนร่วมมือกันดี ทั้งเรื่องหน้ากากเรื่องอะไรก็ทำให้มันชะลอการเกิดโรคได้ดีก็เป็นผลดีด้านหนึ่ง
เพราะสิ่งที่ฝรั่งคาดแล้วไม่เป็นตามคาดคือ ถ้าอาการน้อยๆ ไม่ไป แต่คนหนุ่ม คนสาว นักเคลื่อนไหวที่ไปๆ มา เขาเจ็บป่วยอาการไม่หนักหรอก แล้วก็มุ่งเซฟคนแก่ แต่ปรากฏว่าคนหนุ่มคนสาวนำเชื้อเข้าบ้าน แล้วก็ติดคนแก่
โควิดกับการปรับทัพของการระบาดวิทยา
มีผลสูง ผมเชื่อว่า มันเหมือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราเห็นว่ากลไกการตอบโต้กับโรคระบาดนอกกระทรวงสาธารณสุขเข้มแข็งชัดเจนขึ้น ตอนมีกฎหมายออกมาตั้งคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด คนจะนึกไม่ออกว่าคณะกรรมการชุดนี้จะมีงานมีหน้าที่อะไรสักเท่าไร จะเอารายงานโรคไปคุยกันทุกเดือนหรือเปล่า จะทำอะไรกันดี หรือว่าพอไปประชุม ก็ไม่ค่อยมีอะไรกันมาก แต่พอมีเคสนี้ขึ้นมา เห็นความสำคัญของผู้ว่า นายอำเภอ เครือข่ายนอกกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องไปประสาน การจัดทัพมันมีผลทำให้หน่วยงานสาธารณสุขเห็นความสำคัญ เห็นความเตรียมพร้อม มันเป็นไวรัสที่หยุดโลกได้เลย หยุดการเคลื่อนไหวของคน ราบคาบ รอเวลาที่จะฟื้นคืน ทุกคนก็หวังกับวัคซีน
ด้วยความเข้าใจที่ดีขึ้น ผมว่ารัฐบาลข้างบนก็มองเห็นความสำคัญองระบาดวิทยา ชาวบ้านก็มองเห็นว่าระบาดวิทยามันตอบโจทย์อะไรในชีวิตเขา การเจอผู้ป่วย การไล่หาประวัติ ย้อนอดีต การหาผู้สัมผัสมาตรวจ ก็หวังว่าจะกิดผลในด้านดี ทั้งในด้านของการปรับเพิ่มจำนวน หรือกรอบสัดส่วนคนที่ทำงานด้านนี้ให้มากขึ้น ก็ทำให้เวลาปกติ ก็เห็นความสำคัญ ผมเคยพูดว่าเวลาเราคุยกันในเครือข่ายของอาเซียน บางประเทศยังขาดกำลังคนด้านระบาดวิทยาเยอะ บางทีเขารู้สึกว่า เขาต้องการเงินจากต่างประเทศนะ ถึงจะจัดอบรมหรือทำให้มีคนด้านนี้ขึ้นมาได้ แสดงว่าภายในประเทศเขาไม่ได้เห็นความสำคัญที่จะแบ่งคนมามำงานด้านนี้ แสดงว่าเวลาปกติอาหารเป็นพิษธรรมดา ป่วย 20-30 คน เขาก็คิดว่าไม่ต้องสอบสวนหรอก เดี๋ยวมันก็หยุดเอง มันคือในงานปกติ ไม่ได้เตรียมระบบให้มันเรียนรู้ แต่ของเราทำจนมีทีมระดับอำเภอ ที่บอกว่าเกิดเหตุ เกิดการป่วย คนไปทำบุญวันวิสาขบูชา มีคนป่วย 30-40 คน เราก็ลงไปสอบสวนกันแล้ว อ้อ….เริ่มมาจากข้าวมันไก่นะ ทำค้างคืนนานเกินไป การถูกดูแลเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จากโรคที่ไม่รุนแรงทำให้มีที่อยู่ที่ยืนของคนทำเรื่องนี้ บางส่วนก็เป็นแพร่ระบาดวิทยาโดยตรง บางส่วนที่ไม่ใช่แพทย์ จะเห็นนักวิชาการสาธารณสุข พยาบาล คนที่ไม่ใช่แพทย์ คนที่จะมาเชื่อมต่อเรียนรู้กันว่ามันมีหน้างานอีกแบบหนึ่งที่มากกว่าการนั่งตรวจทั้งวันไปเรื่อย ผมเลยคิดวาการรับรู้ของคนและการเห็นประโยชน์ จะทำให้การจัดกระบวนทัพในงานระบาดวิทยา จะถูกรีวิว และจัดกระบวนกันใหม่
กำลังคนด้านระบาดวิทยา
เราเน้นภาคสนามด้วย ระบาดวิทยาจะแบ่งเป็น ระบาดวิทยาคลินิก ผมก็จะเป็นอาจารย์ ภาคสนามของโรงรียนแพทย์ ระบาดวิทยาภาคสนาม เน้นการดูข้อมูล การเกิดโรครายกลุ่ม ดูแพทเทิร์นมันว่ามันเกิดโรคปกติไหม หรือมีความผิดปกติแล้ว และให้เกิดการตอบโต้กับโรคอย่างรวดเร็ว
ระบาดวิทยาไม่ได้เน้นการวินัจฉัยรายคน เรามองในเชิงระบบ เมื่อมีโรคนี้เกิดขึ้นในแพทเทิร์นที่ผิดปกติจะทำยังไง ในคำนิยามของระบาดวิทยา จึงมีคำที่เราเน้นว่า disease occurrence ไม่ใช่ disease การเกิดโรคในประชากร ไม่ใช่การดูว่าเจาะเลือดวันนี้แล้วยังไม่ป่วย สองวันเจาะมา อ้าวป่วยแล้ว ก็พยายามตอบคนคนนี้เกิดโรคแล้วโปรเกรสยังไง เกิดอาการป่วยแล้วยังไง จะบอกว่าการสังเกตจากแพทเทิร์นการเกิดโรคในภาพใหญ่ มันสามารถให้แพทเทิร์นของการเกิดโรคในภาพรวมได้
กำลังการผลิต
ตอนนี้เราเพิ่มเป็นรุ่นละ 10 คนแล้ว อดีตจะมีช่วงหนึ่งที่น้อย แต่พอเรามีศิษย์เก่าไปเรียนเป็นอาจารย์ก็ผลิตเพิ่ม แต่พอหน้างานมีเหตุฉุกเฉินมากขึ้น 10 คนก็รู้สึกล้นมือเหมือนกัน คนมาสมัคร 10 แต่บางจังหวัด สตาฟ เต็มกำลังสมมติไปเรียน 2 คน สตาฟที่เต็มกำลังก็น้อยลง การเทรนคน 10 คนแบบใกล้ชิด staff ก็ต้องการเวลา แล้วพอ staff ต้องมา service ด้วย อยู่เวรโควิดด้วย ก็เหนื่อยกันเต็มที่ ตอนนี้ยัง maximum ที่สิบอยู่ แล้วหลังๆ มามันก็เป็นอะไรที่คนสนใจ น้องๆ วอร์ดก็มา สมัครในอัตราประมาณ 9-10 คนอยู่ ตอนสัมภาษณ์เราก็พยายามดูว่าความสนใจเขาเป็นยังไง สนใจทางนี้จริงไหม มันก็จะเหมือนกับแพทย์ทุกสาขา ที่จะมีจำนวนหนึ่งพอเรียนไปแล้วเหมือนกับไม่ใช่ทางนะ บางทีก็เปลี่ยนแนวไป เราก็เลยได้ประมาณ 8-10 คน ติดต่อกันมา 3-4 ปีแล้ว แต่ยังน้อย โควิดมานี่เห็นชัดเลยว่าเฉพาะแพทย์ไม่มีทาง
สัมภาษณ์: เพ็ญนภา หงษ์ทอง