ปี 2561 นักวิจัยจาก สวค. นำโดย นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในสถานบริการสุขภาพภาครัฐของแพทย์ โดยทำการศึกษาในพื้นที่ 8 จังหวัด เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐนำไปใช้เพื่อธำรงแพทย์ไว้ในชนบท งานวิจัยนี้กำหนดนิยามแรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินไว้ 5 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน, ความยืดหยุ่นในการจ้างงานและการจัดการ, การสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในการทำงานและในสายวิชาชีพ, การเข้าถึงบริการต่างๆ และแรงจูงใจภายในตัวเอง (intrinsic reward) ซึ่งแรงจูงใจทั้ง 5 มิติ ล้วนมีผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ในชนบทอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ และโรงพยาบาลหลายแห่งสามารถบริการจัดการแรงจูงใจทั้ง 5 มิติจนทำให้สามารถรักษาแพทย์ไว้ในโรงพยาบาลได้
งานวิจัยนี้ได้พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวกับการสร้างและบริการแรงจูงใจที่ไม่เงินเพื่อธำรงแพทย์ไว้ในโรงพยาบาลในชนบท 7 ประการ ได้แก่ การบริหารจัดการให้มีจำนวนแพทย์หมุนเวียนที่เพียงพอในโรงพยาบาล, สร้างระบบแพทย์ที่ปรึกษาที่ดี และมีระบบส่งต่อที่ดี, ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภาระงานอย่างเป็นธรรม, มีระบบไกล่เกลี่ยเพื่อป้องกันปัญหาการถูกฟ้องร้องทางการแพทย์, พัฒนาระบบพี่เลี้ยงในโรงพยาบาลชุมชน, จัดให้มีทรัพยากรในการให้บริการผู้ป่วยอย่างเพียงพอ และสร้างแรงจูงใจส่วนบุคคล เช่น การจัดให้มีแพทย์ต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะการใช้ชีวิตในชนบทให้แพทย์รุ่นน้องได้
ภาพ: hfocus.org
อ่านเรื่องเกี่ยวข้อง