งานวิจัย ปี 2559
โครงการศึกษาค่าแรงบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ศึกษาค่าแรงบุคลากรในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใน 8 จังหวัด พบว่าแม้จะเป็นวิชาชีพเดียวกัน แต่ค่าตอบแทนที่ได้รับในแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน โดยปัจจัยที่มีผลต่อค่าแรงเฉลี่ยต่อเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ประเภทการจ้างงาน วิชาชีพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ลักษณะของโรงพยาบาลที่แบ่งไว้ในระเบียบค่าตอบแทนฉบับ 8 การตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จำนวนบุคลากรประเภทเดียวกันในโรงพยาบาล เป็นต้น ค่าแรงที่แตกต่างกันสอดคล้องกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากร อีกทั้งยังพบวาค่าแรงและค่าตอบแทนของบุคลากรด้านสุขภาพส่วนใหญ่ไม่สะท้อนผลการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ: สวค., สวรส., ค่าแรง, สาธารณสุข, บุคลากรด้านสุขภาพ
การทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของรบบสุชภาพของประเทศไทย
ศึกษาระบบธรรมาภิบาลด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพตามกรอบของ UNDP ใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ การมีส่วนร่วมและมีฉันทามติในเรื่องนโยบายและกระบวนการต่างๆ, การมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและระยะยาว การมีกระบวนการที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน, การมีบทบาทเกี่ยวข้องและมีความรับผิดชอบร่วมกัน, และมีความยุติธรรม เคารพต่อกฎระเบียบ โดยศึกษาทั้ง 3 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ คือ การวางแผน การผลิต และการบริหารจัดการ ผลการวิจัยพบว่าระบบธรรมาภิบาลด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพยังไม่เกิดขึ้นจริง ทั้งในส่วนของการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพระดับประเทศ และในส่วนของการดำเนินการของคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นแล้ว
คำสำคัญ: กำลังคนด้านสุขภาพ, ระบบธรรมาภิบาล, การมีส่วนร่วม, คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
การประเมินระบบฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตัวชี้วัดเชิงนโยบายกำลังคนด้านสุขภาพ (HRH Code Indicators)
เป็นการศึกษาเพื่อทบทวนสถานการณ์ข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพในประเทศไทย โดยพบว่าประเทศไทยมีฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพหลายแหล่ง โดยเฉพาะข้อมูลการระบุตัวบุคคลของกำลังคนด้านสุขภาพ (HRH Workforce registry) โดยกระจายอยู่ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยผลิต หน่วยควบคุมและกำกับมาตรฐานวิชาชีพ และหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน การเก็บข้อมูลส่วนใหญ่เพื่อใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงานตนเอง อย่างไรก็ดีข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานเก็บอยู่นั้นยังขาดมิติที่จำเป็นต่อการพัฒนาและการธำรงกำลังคนด้านสุขภาพไว้ในระบบ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน, การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร, การโยกย้าย, ผลการปฏิบัติงาน รวมถึงข้อมูลการลาออกจากงาน เป็นต้น
งานวิจัยนี้ได้เสนอทางเลือกในการพัฒนาฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพ 3 แนวทาง ได้แก่ การพัฒนาฐานข้อมูลการระบุตัวบุคคลของกำลังคนด้านสุขภาพระดับประเทศขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องใช้การลงทุนมากและเวลานาน แต่จะมีความยั่งยืน, เชื่อมโยงข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพที่อยู่ในแหล่งต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักเป็นแกนกลาง ซึ่งจะต้องประสบกับอุปสรรคสำคัญคือ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ในประเด็นว่าด้วยความลับของเจ้าของข้อมูล และทางเลือกที่ 3 การนำผลรวมการนับข้อมูลกำลังคนในแต่ละเงื่อนไขจากทุกๆ ฐานข้อมูลที่มีเพื่อนำมาคำนวณและจัดทำรายงานกาพรวมกำลังคนด้านสุขภาพ จะทำให้ด้ภาพรวมของข้อมูลในลักษณะของ National Health Workforce Account
คำสำคัญ: กำลังคนด้านสุขภาพ, ฐานข้อูมล, การระบุตัวบุคคล, HRH Code Indicators, Health workforce,
Strengthening Human Resources for Health through Transformative Education and Rural Retention in Thailand
งานศึกษาที่รวบรวมภาพรวมของการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทย ทั้งในด้านของสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้ม, นโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง, การผลิตกำลังคนและแนวโน้ม ฐานข้อมูลกำลังนด้านสุขภาพของประเทศ รวมทั้งการรายงานความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการว่าด้วยการปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาและการธำรงกำลังคนด้านสุขภาพไว้ในชนบท
คำสำคัญ: Health workforce, transformative education, rural retention, HRH information system, Thailand